คอมพิวเตอร์เพื่อการสอน

คอมพิวเตอร์พื่อการสอน

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

                                      ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาว ณัฐณิชา นามสกุล แปงทอง ชื่อเล่น หมวย อายุ 19 วันเกิด 07/05/2536 อาหารที่ชอบ ส้มตำ หมูปิ้ง เครื่องดื่มที่ชอบ S  งานอดิเรก อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ มีครอบครัว 5 คน มีตา ยาย พ่อ แม่ น้อง และตัวดิฉัน อยู่ บ้านสุขสำราญ ตำบล ฝั่งแดง อำเภอ นากลาง จังหวัด หนองบัวลำภู 39170  
คณะครุศาสตร์ เอกการประถมศึกษา รหัส554188089 

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สื่อการสอน
เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนร่วมสมัย
                 คอมพิวเตอร์ได้เกี่ยวข้องกับการสอนอย่างแพร่หลายมากในปัจจุบัน ทั้งนี้ เพราะความสามารถของคอมพิวเตอร์ที่บันทึก วิเคราะห์และตอบสนองได้ เราอาจแยกคอมพิวเตอร์ด้านการสอนที่เรียกว่า
computer-based Instruction (CBI) ได้ออกเป็น 2ประเภท คือ
1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction)-CAI
2. คอมพิวเตอร์จัดการสอน (Computer-Managed Instruction)-CMI
                สำหรับCAIนั้นผู้เรียนจะได้สัมผัสโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ได้เก็บข้อมูลเนื้อหาวิชาและจัดเรียงลำดับไว้แบบเดียวกับบทเรียนโปรแกรมแล้ว ส่วน CMI นั้น คอมพิวเตอร์ช่วยครูผู้สอนได้จัดดำเนินการกับกระบวนการเรียนการสอน โดยผู้เรียนไม่สามารถสัมผัสกับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์แบบ CMIจะเก็บระเบียนสะสมของผู้เรียน มีข้อมูลของสื่อการสอนที่เกี่ยวข้อง แต่บางครั้งผู้เรียนอาจได้สัมผัส CMIเพื่อทดสอบ นอกจากCAIและ CMIแล้ว คอมพิวเตอร์อาจเป็นวัสดุเพื่อการสอนก็ได้ (Object of instruction)เช่น ในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือของการสอน เช่น ใช้เครื่องคำนวณและพิมพ์ดีด

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในการศึกษาและการฝึกอบรม
 คอมพิวเตอร์เป็นการปฏิวัติครั้งที่สามในวงการศึกษา การปฏิวัติครั้งแรก คือ การพิมพ์(หนังสือ)ครั้งที่สอง คือ การเสนอ ห้องสมุด เข้ามาในการศึกษา การสร้างคอมพิวเตอร์ครั้งแรกมีขึ้นทศวรรษที่1950 ซึ่งในระยะแรกๆยังมีราคาแพง และตัวเครื่องขนาดใหญ่โตมาก และต่อมาก็ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ และจากการที่ได้มีการสร้างภาษาคอมพิวเตอร์ FORTRAN ขึ้น ซึ่งดุคล้ายบทเรียนโปรแกรมของสกินเนอร์ในแง่ที่เป็นรูปแบบหน่วยเล็กๆ ที่นำไปสู่สมองอันมีเหตุผลของคอมพิวเตอร์
              ต่อมาในปี ค.ศ.1975ก็ได้มีการสร้างไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้น ทั้งนี้เพราะได้มีการนำเอา Silicon chip มาใช้ ซึ่งมีขนาดภาพเล็กมาก และทำให้คอมพิวเตอร์มีราคาถูกลงมากด้วย ไมโครคอมพิวเตอร์จึงแพร่หลายอย่างมากในวงการธุรกิจขนาดเล็กและในครอบครัว
             ในสหรัฐอเมริกามีการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์กันแพร่หลายมากในโรงเรียน ซึ่งจากการสำรวจของ Mark Data Retrieval* ในปี 1984 พบว่า กว่า86% ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจะมีไมโครคอมพิวเตอร์อย่างน้อง1เครื่อง หรือมากกว่านั้น และNational Institute of Eduction** กล่าวว่า ในปี1987 นักเรียนในสหรัฐอเมริกาทุกๆ23คนจะมีไมโครคอมพิวเตอร์ 1เครื่อง

 มโนทัศน์ในภาษาคอมพิวเตอร์
               การรู้ภาษาที่เป็นคำ (Verbal Literacy) จะหมายถึง การอ่านออกเขียนได้ต่อมาเรามีการภาษาภาพ (Visual Literacy) เราก็จะหมายถึงการตีความหมายของภาพได้ และสร้างภาพให้มีความหมายขึ้นมาได้ เมื่อมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ เราก็มีคำว่า การรู้ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer literacy) ซึ่งก็คงจะหมายถึงเรามีความสามารถที่จะเข้าใจและใช้คอมพิวเตอร์ได้ อย่างไรก็ตาม ในการรู้ภาษาของคอมพิวเตอร์นี้ก็มีลำดับขั้นว่าเรารู้เพียงใด ซึ่งอาจเรียงลำดับได้ดังนี้

 ลำดับขั้นของการรู้ภาษาคอมพิวเตอร์
 คอมพิวเตอร์คืออะไร (Knowledge อธิบายได้ถึงคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์และการพัฒนาจาก   อดีตขอคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ทำอะไร (Knowledge)   -บอกได้ถึงความสามารถและคุณประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
ใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างไร(Comprehension) –อธิบายถึงการใช้คอมพิวเตอร์ได้
คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร(Comprehension)  อธิบายได้ถึงหน้าที่ของส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้หรือไม่(Application) –ใช้คอมพิวเตอร์ได้ โดยโต้ตอบคำถาม คำสั่งของ
                                                                                      คอมพิวเตอร์ได้
คิดค้นปัญหาได้หรือไม่ (Analysis) –วิเคราะห์งานเพื่อแก้ปัญหาโดยคอมพิวเตอร์ได้
เขียนโปรแกรมได้หรือไม่(Synthesis) –สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นใหม่สำหรับงานใหม่ได้
ควรจะใช้คอมพิวเตอร์อย่างไร(Evaluation) – กำหนดคุณค่าเพื่อตัดสินถึงการใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง                                                                                                               เหมาะสมได้                  
          ผู้เรียนเรื่องคอมพิวเตอร์คงต้องเป็นไปตามลำดับขั้นดังกล่าวโดยที่การรู้เรื่องภาษาของคอมพิวเตอร์อาจต้องรวมทั้งความรู้ ทัศนคติ และทักษะด้วย นอกจากนั้น ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) และมโนทัศน์ในด้านกระบวนการข้อมูล (Data processing concepts) ก็มีความจำเป็นด้วยเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้เอง

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในการสอน
            โดยทั่วไปเราจะมองว่า คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือการสอนที่ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีของการสอนซึ่งก็เป็นCAI ดังกล่าวแล้ว เนื่องจากCAIมีลักษณะที่ค่อนข้าง Active คุณประโยชน์ที่เห็นได้จึงมีดังนี้
1.ผู้เรียนเรียนได้ตามความเร็วของตนเอง ทำให้สามารถควบคุมอัตราเร่งของการเรียนได้ด้วยตนเอง
2.การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงที่รวดเร็วด้วย
3.อาจจัดโปรแกรมให้มีบรรยากาศที่น่าชื่นชม ซึ่งเหมาะสำหรับผู้เรียนที่เรียนช้าได้
4.สามารถรวมเอาเสียงดนตรี สีสัน กราฟิกเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้ดูเหมือนของจริง และน่าเร้าใจในการทำการฝึกปฏิบัติ (Drill) หรือสถานการณ์จำลองได้เป็นอย่างดี
5.ความสามารถในการเก็บข้อมลของคอมพิวเตอร์ ทำให้การเรียนแบบเอกัตบุคคลเป็นไปได้อย่างง่ายดาย ซึ่งครูผู้สอนสามารถออกแบบให้เรียนได้โดยลำพัง
6.ผู้สอนสามารถควบคุมการเรียนของผู้เรียนได้ เพราะคอมพิวเตอร์จะบันทึกการเรียนของผู้เรียนแต่ละบุคคลไว้
7.ความใหม่แปลกของคอมพิวเตอร์จะเพิ่มความน่าสนใจ ความตั้งใจของผู้เรียนมากขึ้น
8.คอมพิวเตอร์ให้การสอนที่เชื่อถือได้แก่ผู้เรียนโดยไม่เกี่ยวกับผู้สอนแต่อย่างใด
9. CAI จะช่วยให้การเรียนมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีประสิทธิภาพในแง่ที่ลดเวลาและลดค่าใช้จ่ายลง และประสิทธิผลในแง่ที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมาย

ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์
  1.แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะมีราคาลดลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังค่อนข้างสูงในการนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับ และก็ยังมีปัญหาในเรื่องบำรุงรักษาและแก้ไขเมื่อเกิดข้อขัดข้องขึ้นด้วย
2.การออกแบบและผลิตโปรแกรมการสอนยังล้าหลังโปรแกรมด้านอื่นอยู่มาก
3.ยังขาดแคลนวัสดุการเรียนการสอนที่มีคุณค่าในการใช้กับคอมพิวเตอร์และโปรแกรมการสอน (Software) ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ยี่ห้อหนึ่งก็อาจใช้กับคอมพิวเตอร์อีกยี่ห้อหนึ่งไม่ได้
4.การออกแบบโปรแกรมการสอนใช้เวลามาก และต้องมีทักษะในการออกแบบเป็นอย่างดีด้วย
5.ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งอาจทำให้โปรแกรมที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ ไม่เป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้เรียน

การใช้CBI
       ได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการดำเนินการในเรื่องการศึกษากันอย่างมาก ซึ่งมากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยตรง (CAI) ในสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ใช้ในการเก็บระเบียนสะสมของนักเรียนนักศึกษา ใช้ในการจัดตารางสอน ในการจ่ายเงินเดือน ในการแนะแนวและในการเก็บข้อสอบ คิดคะแนนสอบเป็นต้น
       
 เราอาจแบ่งการใช้ CBI ออกได้ดังนี้
1.เป็นวัสดุการสอน (Object of Instruction) เช่น ใช้ในการเรียนรู้เรื่อง “คอมพิวเตอร์” และถ้าผู้เรียนเรื่องการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตัวคอมพิวเตอร์และโปรแกรม (Software) ก็เป็นวัสดุการสอน
2.เป็นเครื่องมือระหว่างสอน (Tool during Instruction) เช่น ใช้ในการคำนวณด้านคณิตศาสตร์ รวบรวมตัวเลข หาค่าสถิติ และใช้เป็น Word processor เช่นพิมพ์รายงาน เป็นต้น
      ก.ฝึกปฏิบัติ (Drill and Practice) เป็นกระบวนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ที่ง่ายที่สุด โดยมีการใช้ทฤษฎีเสริมแรงในการสอนมโนทัศน์และทักษะ โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยชุดของคำถามหรือแบบฝึกหัดเช่นเดียวกับในหนังสือแบบฝึกหัด (Work book) แบบฝึกหัดนั้นจะมีการเสริมแรงทุกๆ คำตอบที่ถูกต้อง และส่วนใหญ่มักเป็นการฝึกปฏิบัติวิชาคณิตศาสตร์ การแปลภาษาต่างประเทศ และการสร้างคำศัพท์กับรูปประโยค โปรแกรมที่ได้ปรับปรุงให้ซับซ้อนขึ้นมักจะเริ่มด้วย Pretest ก่อน เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่จะทำให้การฝึกปฏิบัติเป็นไปอย่างเหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน โปรแกรมบางโปรแกรมจะบันทึกข้อมูลการตอบสนองของผู้เรียนไว้ด้วย เพื่อที่จะใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนเพิ่มเติมต่อไป
ข.เรียนทบทวน(Tutorials) เป็นการใช้แทนผู้สอนที่จะทบทวนเนื้อหาวิชาให้ โดยจะมีทั้งเนื้อหาและกาฟิกบนจอภาพของคอมพิวเตอร์ และมีคำถามเป็นระยะๆ ถ้าผู้เรียนตอบได้ถูกต้องก็จะมีการ Feed back เป็นการเสริมแรงลงทันทีทันใด แต่ถ้าตอบผิดก็จะมีการกลับไปทบทวนเนื้อหากันใหม่ เป็นการสอนเสริมนั่นเอง ถ้าใช้วิธีการจะคล้ายกับบทเรียนโปรแกรมแบบสาขา (Branching program) จะเห็นได้ว่า การใช้คอมในลักษณะนี้ คอมพิวเตอร์จะทำหนาที่เหมือนผู้สอนที่สอนทบทวนให้ผู้เรียน
   ค. สถานการณ์จำลอง (Simulations)  โปรแกรมที่ค่อนข้างเป็นการเคลื่อนไหวและเลียนแบบของจริงนั้น  เราอาจใช้คอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี เช่น เรียนการขับเครื่องบินด้วยโปรแกรมสถานการณ์จำลองของคอมพิวเตอร์ เรียนการบริหารธุรกิจขนาดเล็ก การควบคุมและใช้เครื่องมืออุปกรณ์ระบบนิวเคลียร์เพื่อป้องกันการลุกไหม้ การควบคุมระบบการใช้อาวุธร้ายแรง และการทำงานในการขุดเจาะบ่อน้ำมัน สิ่งที่ค่อนข้างซับซ้อนและเคลื่อนไหวเหล่านี้จะเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนด้วยโปรแกรมสถานการณ์จำลองของคอมพิวเตอร์น้อยกว่าเรียนในโลกของความจริงมากมาย เช่น กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาลดค่าใช้จ่ายจากการฝึกอบรมนักเดินเรือ จาก 4,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อชั่วโมง เหลือเพียง 400 เหรียญสหรัฐฯต่อชั่งโมงเท่านั้น บริษัทการบิน United Airlines ของสหรัฐอเมริกาก็วางแผนที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรมนักบินแทนการขับเครื่องบินจริงในจุดมุ่งหมายบางอย่างด้วย

 บรรณานุกรม
ผศ. ดร. วารินทร์ รัศมีพรหม.สื่อการสอน เทคโนโลยีการศึกษาและการสอนร่วมสมัย:พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ธันวาคม 2531.